วิธีการปรุงยาสมุนไพร
สมุนไพร นอกจากเราจะสามารถใช้สดๆ กินสดๆ หรือกินเป็นอาหารแล้ว ยังมีวิธีการปรุงยาสมุนไพรมากมายหลายวิธีเพื่อให้ได้สมุนไพรในรูปแบบที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค ใช้ได้สะดวก มีรสและกลิ่นที่ชวนกิน อีกทั้งยังสามารถพกพาได้สะดวกและเก็บไว้ได้นาน
การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ นั้นก็ไม่ต่างกัน ยาถึงจะมีสรรพคุณดีแค่ไหน ถ้าปรุงไม่เป็นใช้ไม่ถูกวิธีก็อย่าหวังจะได้ยาดี นักนิยมสมุนไพรทั้งหลายจึงควรมีความรู้ขั้นพื้นฐานในการปรุงยากันไว้บ้างนะครับ...
สมุนไพร นอกจากเราจะสามารถใช้สดๆ กินสดๆ หรือกินเป็นอาหารแล้ว ยังมีวิธีการปรุงยาสมุนไพรมากมายหลายวิธีเพื่อให้ได้สมุนไพรในรูปแบบที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค ใช้ได้สะดวก มีรสและกลิ่นที่ชวนกิน อีกทั้งยังสามารถพกพาได้สะดวกและเก็บไว้ได้นาน
การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ นั้นก็ไม่ต่างกัน ยาถึงจะมีสรรพคุณดีแค่ไหน ถ้าปรุงไม่เป็นใช้ไม่ถูกวิธีก็อย่าหวังจะได้ยาดี นักนิยมสมุนไพรทั้งหลายจึงควรมีความรู้ขั้นพื้นฐานในการปรุงยากันไว้บ้างนะครับ...
- การชง (Infusion)
- ใส่สมุนไพรลงในกาหรือหม้อชงยา 1 ส่วน เติมน้ำเดือด 10 ส่วน ปิดฝาทิ้งไว้ 10 นาที
- รินยาผ่านตะแกรงหรือผ้าขาวบางลงถ้วย เพื่อกรองเศษสมุนไพรที่ติดมากับน้ำยา แล้วนำไปดื่มได้ เก็บส่วนที่เหลือไว้ในเหยือก แช่ไว้ในตู้เย็นไว้ใช้ดื่มในมื้อต่อไป
- การต้ม (Decoction)
วิธีการเตรียมทำโดยการหั่นหรือสับสมุนไพรเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อต้ม แล้วใส่น้ำลงไปให้ท่วมยาเล็กน้อย ใช้ไฟขนาดปานกลางต้มจนเดือด แล้วจึงลดไฟให้อ่อน ควรคนยาเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ยาไหม้ ตามตำราไทยมักจะต้มแบบ 3 เอา 1 คือใส่น้ำ 3 ส่วนของปริมาณที่จะใช้ แล้วต้มให้เหลือ 1 ส่วน แต่บางตำราก็ต้มแบบ 3 เอา 2 เช่นเดียวกับวิธีการชง ควรทำสดๆ ใช้ในแต่ละวัน ไม่ควรทำทิ้งไว้ข้ามคืน ดื่มว้นละ 3 ครั้ง ร้อนหรือเย็นก็ได้
- ใส่สมุนไพรลงในหม้อต้ม ใส่น้ำให้ท่วมสมุนไพร ต้มด้วยไฟปานกลางจนเดือดแล้วจึงหรี่ไฟอ่อน ต้มต่อไปจนเหลือน้ำ 1 ใน 3
- รินยาผ่านตะแกรงหรือผ้าขาวบางลงในถ้วยหรือเหยือก แล้วนำไปดื่มได้ ที่เหลือไว้ในตู้เย็นใช้ดื่มในมื้อต่อไป
- การดอง (Tincture)
ตามตำราไทยมักจะใช้เหล้าขาว 28 - 40 ดีกรี นอกจากใช้เหล้า และเอทิลแอลกอฮอล์แล้ว ยังสามารถใช้น้ำหมักจากผลไม้ หรือน้ำส้มสายชูในการดองยาก็ได้ แต่จะสกัดตัวยาได้ไม่ดีเท่าเหล้าหรือแอลกอฮอล์ อายะเก็บรักษาก็สั้นกว่า แต่ราคาจะถูกกว่า วิธีการดอง อาจจะใส่สมุนไพรดองในเหล้าโดยตรง หรืออาจห่อสมุนไพรด้วยผ้าขาวบางแล้วดองในเหล้าตามวิธีตำราไทยก็ได้
- ห่อสมุนไพรด้วยผ้าขาวบางอย่างหลวมๆ เผื่อไว้หากยาพองตัวเวลาอมน้ำ ใส่ลองในขวดโหลแก้ว หรือโถกระเบื้อง เทเหล้าใส่ท่วมห่อยา ปิดฝาให้สนิท ตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 1 - 2 สัปดาห์ และต้องเปิดฝาคนให้ทั่ว วันละ 1 ครั้ง
- เมื่อดองครบกำหนดแล้ว เทยาดองใส่ขวด หรือภาชนะสีทึบ บีบยาดองออกจากห่อผ้าขาวบางให้หมด ปิดฝาให้สนิท
- ผง แคปซูล และลูกกลอน
- สมุนไพรที่จะนำมาบดเป็นผงจะต้องตากให้แห้งสนิท แล้วจึงนำมาบดเป็นผงด้วยการตำหรืเครื่องบดยา และต้องบดให้ละเอียดเป็นผง ใช้ชงน้ำดื่มหรือโรยผสมลงในอาหาร
- แคปซูล การบรรจะแคปซูลก็ให้ซื้อแคปซูลเปล่าสำเร็จรูปมา เทผงสมุนไพรลงในชามแก้วปากกว้าง ดึงแคปซูลออก 2 ส่วน จับทั้ง 2 ข้างเข้าหากันผ่านผงยา แล้วจึงสวมแคปซูลเข้าด้วยกันหรือบรรจุผงยาด้วยเครื่องบรรจุแคปซูลก็ได้
- ยาลูกกลอน เอาผงสมุไนไพรใสชามปากกว้าง เติมน้ำผึ้งทีละน้อย นวดให้เข้ากันจนผงยาทั้งหมดเกาะกัน ไม่เหนียวติดมือ ให้สังเกตปริมาณน้ำผึ้งที่ใช้ โดยปั้นลูกกลอนด้วยมือ ถ้าเละติดมือ ปั้นไม่ได้ แสดงว่าน้ำผึ้งมากไป ให้เติมผงยาเพิ่ม แต่ถ้าแห้งร่อนไม่เกาะกัน ปั้นไม่ได้ หรือปั้นได้แต่เมื่อบีบเบาๆ จะแตกร่วน แสดงว่าน้ำผึ้งน้อยไป ให้เติมน้ำผึ้งอีก เมื่อนวดผงยาได้ที่แล้ว ทำเป็นลูกกลอนได้ 2 วิธี คือ การใช้เครื่อง และการใช้มือคลึง โดยคลึงเป็นเส้นยาวๆ ก่อน แล้วจึงเด็ดเป็นท่อน ๆ นำมาคลึงด้ว้ยมือจนกลม ใส่ถาดหรือกระจาดไปอบหรือตากแดด แล้วจึงนำมาบรรจุขวดหรือภาชนะที่มีฝาปิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น