20 กุมภาพันธ์ 2553

โรคสามัญกับยาสมุนไพรประจำบ้าน

โรคสามัญกับยาสมุนไพรประจำบ้าน
     
        สวัสดีครับ... วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคสามัญกันนะครับ...
  • โรคกระเพาะอาหาร 
    • ขมิ้นชัน  ใช้เหง้าแก่บดเป็นผง  ปั้นเป็นลูกกลอนหรือบรรจุแคปซูล ทานครั้งละ  500  มิลลิกรัม วันละ  4  ครั้ง
  • อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
    • ขมิ้นชัน  ใช้ขมิ้นชันตากแห้ง  บดเป็นผง  ปั้นเป็นลูกกลอนทานครั้งละ  2 - 3 เมตร  วันละ  4  ครั้ง หรือบรรจุแคปซูล  250  มิลลิกรัม  ทานครั้งละ  2  เม็ด วันละ  4  ครั้ง
    • ขิง  ใช้เหง้าแก่ขนาดหัวแม่มือ  ทุบให้แตก  ต้มน้ำดื่ม 
    • กานพลู  ใช้ดอกแห้ง 5 - 8 ดอก ต้มหรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม
    • กระเทียม  ทานกระเทียมสด 5 - 7 กลีบหลังอาหาร
  • ท้องผูก
    • แมงลัก  ใช้เม็ดแมงลัก 1 - 2 ช้อนชา  แช่น้ำอุ่น  1  แก้ว  จนพองเต็มที่  ทานก่อนนอน
  • อาการท้องเสีย
    • ฝรั่ง  ใช้ใบแก่  10 - 15  ใบ  ปิ้งไฟ ชงน้ำดื่ม
    • ฟ้าทะลายโจร  บดใบแห้งเป็นผง  ปั้นลูกกลอน  ทานครั้งละ  1.5  กรัม  วันละ  4  ครั้ง หรือดองเหล้า  7 วัน กรองเอาน้ำดื่ม
  • อาการคลื่นไส้  อาเจียน
    • ขิง  ใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือ  ทุบให้แตกต้มน้ำดื่ม
  • อาการไอ ระคายคอจากเสมหะ 
    • ใช้ขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว หรือคั้นน้ำผสมเกลือจิบบ่อย ๆ
  • อาการขัดเบา
    • ตะไคร้  ใช้ต้นแก่ซอยเป็นแว่น 1 กำมือ  ต้มน้ำดื่มวันละ  3  ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา
  • แผลไฟไหม้  น้ำร้อนลวก
    • บัวบก  เอาใบสดตำคั้นน้ำ  ชโลมแผลให้ชุ่มแล้วทาต่อวันละ 4 ครั้ง
  • อาการแพ้จากแมลงสัตว์กัดต่อย
    • ตำลึง  นำใบสด  1  กำมือตำแล้วพอกไว้
    • เสลดพังพอน  นำใบสด 1 กำมือตำแล้วพอกไว้
  • ลมพิษ
    • พลู  นำใบสด 1 - 2 ใบ ตำผสมกับเหล้าขาวทา
  • อาการเคล็ดขัดยอก
    • ไพล  นำไพล  2 กิโลกรัม  ทอดในน้ำมันพืช 1 กิโลกรัม  แล้วเอาไพลออก  ใส่กานพลูผงลงไปอีก  4  ช้อนชา  ทอดต่อ  10  นาที  กรองแล้วรอจนอุ่นใส่การบูรลงไป  4  ช้อนชา  ทานวดเช้าเย็นหรือเวลาปวด
  • ไข้
    • ฟ้าทะลายโจร  นำใบแห้งบดละเอียด  ทำเป็นลูกกลอน  ทานครั้งละ  1.5 กรัม วันละ  4  ครั้ง หรือดองเหล้า  7  วัน  ทานครั้งละ  1 - 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 - 4 ครั้งก่อนอาหาร
    • บอระเพ็ด  นำต้นสด  40 กรัม  ตำคั้นเอาน้ำดื่มหรือต้มกับน้ำ 3 ส่วน  เคี่ยวเหลือ 1 ส่วน  ทานเช้าเย็น

          ประเทศไทยได้มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยมาแต่โบราณกาลซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้คนในสมัยก่อนสามารถดำรงอยู่ได้ แม้จะไม่มียาแผนปัจจุบันใช้เลยก็ตาม ความรู้ในการใช้สมุนไพรได้สั่งสมต่อเนื่องกันมาช้านานในลักษณะของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละภูมิภาค เราในฐานะลูกหลานควรหันมาสนใจและร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้......
ที่มา : สำนักพิมพ์เกษตรกรรมธรรมชาติ. คู่มือพึ่งตนเอง(ฉบับกระเป๋า).กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์. 2547.



  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น