12 ธันวาคม 2552

ปลูกมะนาววงบ่อ 170 วง คืนทุนใน 1 ปี

ปลูกมะนาววงบ่อ 170 วง คืนทุนใน 1 ปี


          เป็นที่ทราบกันว่าการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์มีข้อดีตรงที่ผู้ปลูกสามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้ อาทิ การให้ปุ๋ย การให้น้ำ ฯลฯ เพียงแต่ผู้ปลูกจำเป็นต้องมีความเอาใจใส่ที่ดี ถึงจะประสบผลสำเร็จ

          อย่างเช่น คุณธนวัฒน์ รัตนถาวร เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ปลูกมะนาวใน วงบ่อซีเมนต์ จำนวน 170 วงบ่อ โดยเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 และต้นมะนาวมีความสมบูรณ์เต็มที่ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 และได้บังคับให้ต้นมะนาวออกในช่วงฤดูแล้งขายผลผลิตมะนาวได้ตั้งแต่ราคาผลละ 1 บาท จนถึงราคาแพงที่สุดผลละ 6 บาทเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา ใช้เวลาปลูกเพียงปีเศษได้เงินทุนคืนและกำไรบางส่วน

          คุณธนวัฒน์ จะใช้วิธีการวางวงบ่อซีเมนต์แบบแถวเดี่ยวโดยใช้ระยะระหว่างต้น 3 เมตร และระยะระหว่างแถว 4 เมตร วัสดุที่ใช้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์นับว่ามีความสำคัญมาก

          จะมีการตีพรวนดินให้มีความร่วนซุย 1-2 รอบ หลักจากนั้นจะทำการผสมปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักหรือเปลือกถั่วเขียวคลุกเคล้ากับดินให้ดี หลังจากนั้นตักวัสดุปลูกใส่ในวงบ่อซีเมนต์ให้พูนแบบหลังเต่า (โดยทั่วไปแล้ววัสดุที่จะใช้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์นั้นจะเน้นในเรื่องของการระบายน้ำที่ดีและมีอินทรียวัตถุสูง ดังนั้นสัดส่วนของวัสดุปลูกที่เหมาะสมคือ หน้าดิน : ขี้วัวเก่า : เปลือกถั่วเขียว = 3:1:2)

          และที่ต้องเน้นเป็นพิเศษก็ คือขณะที่ใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อนั้นจะต้องขึ้นไปเหยียบวัสดุขอบ วงบ่อส่วนบริเวณ ตรงกลางวงบ่อไม่ ต้องเหยียบ เมื่อนำต้นมะนาวพันธุ์แป้น ดกพิเศษมาปลูกในวงบ่อแล้วควรจะมีการปักไม้หลักให้กับต้นมะนาวเพื่อไม่ให้ ต้นโยก ระบบการให้น้ำจะใช้ระบบน้ำแบบ มินิสปริงเกอร์, ระบบน้ำหยด, ระบบน้ำ พุ่ง ฯลฯ แล้วแต่ความสะดวกแต่ระบบการให้น้ำในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์นับว่ามีความสำคัญมาก

          เคล็ดลับในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์จะเน้นในการเด็ดหรือ ตัดผลมะนาวในช่วงฤดูฝนหรือมะนาวปีออกให้หมดไม่ต้องเสียดาย เพื่อไม่ให้ เป็นภาระกับต้น และเพื่อให้ต้นมะนาว มีความสมบูรณ์มากที่สุด ในช่วงเดือนกันยายนจะต้องงดการให้น้ำกับต้นมะนาวโดยใช้ผ้าพลาสติก คลุมต้นเป็นเวลานานประมาณ 4-5 วันหรือเกษตรกรบางรายอาศัยจังหวะที่ฝนทิ้งช่วงก็ได้ เมื่อใบมะนาวเหี่ยว เริ่ม ให้น้ำอย่างเต็มที่ทุกวัน ต้นมะนาวจะกลับ มาสดชื่นและไม่นานก็จะแตกใบอ่อน พร้อมดอก.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=30242&categoryID=568

การเลี้ยงกบในกล่องโฟม (คอนโด)

การเลี้ยงกบในกล่องโฟม (คอนโด)



          ก่อนอื่นต้องหากล่องโฟมขนาดกว้าง 40 ซม.ยาว 60 ซม. สูง 30 ซม. โดยหาซื้อได้จากห้างสรรพสินค้า ที่ห้างใช้ใส่ผักผลไม้มาวางจำหน่าย ประมาณราคากล่องละ 70 – 80 บาท แต่ต้องเลือกกล่องโฟมที่ใช้ในการใส่ผักและผลไม้เท่านั้น เนื่องจากกล่องโฟมเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างเมื่อนำมาใช้เป็นสถานที่เลี้ยงกบ และต้องเลือกดูว่ากล่องโฟมไม่มีการรั่วซึมหรือไม่

          จากนั้นนำมาทำความสะอาดและดัดแปลงโดยการเจาะรูรอบกล่องทั้ง 4 ด้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นำเทปกาวมาติดยึดฝากล่องให้พับปิดเปิดได้ แล้วเจาะรูด้านบนฝากล่อง ตัดปากขวดน้ำดื่มพลาสติก ยัดใส่ลงไปในรูที่เจาะไว้เพื่อใช้เป็นที่ให้อาหาร เมื่อหาที่วางกล่องเรียบร้อย ใส่น้ำลงไปให้สูงประมาณ 1 ซม. นำกบจากบ่ออนุบาลที่มีอายุ 2 เดือนใส่กล่องละ 100 ตัว ( หลักการเลือกซื้อลูกกบ ) ไปวางไว้ในโรงเรือนหรือที่ใดก็ได้ แต่ห้ามไปตั้งกลางแจ้งหรือถูกแดดเด็ดขาดเพราะจะทำให้กบร้อนตายได้

          เพื่อประหยัดเนื้อที่ นำกล่องโฟมตั้งซ้อนกันไว้แต่ไม่ควรเกิน 4 ชั้น เพราะจะสะดวกต่อการให้อาหาร โดยการให้อาหารกบก็จะใช้หัวอาหารกบหรืออาหารปลาดุกโตวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ส่วนการเปลี่ยนถ่ายน้ำก็ควรจะเปลี่ยน 2 วันต่อครั้ง เพื่อไม่ให้น้ำสกปรก ส่วนการเปลี่ยนน้ำก็ทำได้ง่ายๆ โดยการแง้มฝากล่องแล้วเทน้ำออกจากนั้นก็นำสายยางสอดลงไปในที่ให้อาหาร ปล่อยน้ำเข้ากลับไปเหมือนเดิม จากนั้นหมั่นตรวจดูการเจริญเติบโตของกบทุก 2 สัปดาห์ และคัดแยกกบที่โตช้ากว่าตัวอื่นๆ ออก เนื่องจากหากปล่อยไว้กบจะกัดกันและเป็นแผลซึ่งอาจทำให้เกิดโรคตามมาได้

          กระทั่งกบอายุได้ 4 เดือน ก็ให้แยกกบออกจนเหลือ 50-60 ตัว เนื่องจากกบจะเริ่มโต หากปล่อยไว้จะทำให้แออัดกบจะกัดกัดตายได้ จากนั้นก็ดูแลไปอีก 2 เดือน ก็สามารถจับไปขายได้แล้ว กบก็จะมีน้ำหนักอยู่ที่ตัวละ 400-500 กรัม



          “การเลี้ยงกบกล่องโฟมทำได้ง่าย สะดวกมาก เพราะกล่องมีน้ำหนักน้อย ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ยกเปลี่ยนน้ำได้สะดวก ถือเป็นการเลี้ยงระบบปิดทำให้กบปลอดจากโรค ประหยัดเนื้อที่ เพียงแต่มีพื้นที่ 4×6 ตารางวา ก็จะเลี้ยงกบได้ถึง 5,000 ตัวเลยทีเดียว” คุณลุงฉะอ้อนกล่าวไว้นะครับ

          นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการเลี้ยงกบที่ผู้สนใจสามารถนำไปทดลองเลี้ยงได้ โดยเฉพาะคนเมืองซึ่งมีเนื้อที่น้อยได้ก็สามารถใช้ประโยชน์จากการเลี้ยงกบเพื่อสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย



--------------------------------------------------------------------------------

ข้อดี
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่จำกัดได้ดีพอสมควร และดีกว่าการเลี้ยงแบบใส่ขวดพลาสติก
2. ลงทุนต่ำ กว่าเลี้ยงในบ่อปูนหรือบ่อดิน
3. ให้อาหารกบได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปลืองอาหาร
4. ควบคุมโรคได้ง่าย ถ่ายน้ำสะดวก และใช้น้ำน้อยกว่า
5. เหมาะกับผู้ที่เริ่มศึกษาการเลี้ยง หรือเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมเล็กๆน้อยๆเท่านั้น ไม่หวังผลกำไร

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อเสีย
1. ใช้เวลาถ่ายน้ำและให้อาหารนาน หากเลี้ยงจำนวนหลายๆกล่อง เพราะใส่ได้แค่กล่องละ 100 ตัว เท่านั้น
2. ไม่เหมาะกับการเลี้ยงจริงจังเชิงพาณิชย์ ที่ต้องมีปริมาณผลผลิตต่อเดือนสูง ถ้าหากมีแรงงานน้อยหรือผู้เลี้ยงมีเวลาไม่มากพอ
3. ไม่คุ้มค่าเวลาเลี้ยง เหน็ดเหนื่อยกว่าปกติ ไม่มีกำไร เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน ไม่คุ้มค้า

ที่มา : http://www.obobfarm.com/FrogFarm/?p=32

การเลี้ยงกบคอนโด

การเลี้ยงกบคอนโด
         
          การลงทุนประกอบธุรกิจเลี้ยงกบ ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรหลายพื้นที่ให้ความสนใจและนิยมหันมาเลี้ยงกบกันมากขึ้น นอกจากเกษตรกรจะลงทุนสร้างบ่อลอยหรือบ่อซีเมนต์ เลี้ยงกบแล้ว เกษตรกรบางรายยังใช้ภูมิปัญญาพัฒนา วิธีเลี้ยงกบ เป็นการลดต้นทุน ด้วยการเลี้ยงกบในขวดน้ำ และเลี้ยงกบคอนโด เพียงแต่จัดหายางรถสิบล้อเก่า ๆ มาวางซ้อนเป็นชั้น ๆ ใส่น้ำนำลูกกบไปปล่อยเลี้ยง ใช้เวลาเลี้ยง ให้อาหารประมาณ 2 เดือน กบก็จะโตขายได้ราคาดี

          ผู้ที่สนใจจะเลี้ยงกบไว้ข้างบ้านนั้น แนะนำให้เลี้ยงกบคอนโด นอกจากจะไม่สิ้นเปลืองน้ำ ใช้พื้นที่ไม่มากแล้ว กบที่เลี้ยงในคอนโดจะโตเร็วกว่ากบที่เลี้ยงในบ่อลอยที่ต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน แต่กบคอนโดใช้เวลา 2 เดือนก็จะโตเต็มที่ขายได้ 3 – 4 ตัวต่อ 1 กก. และสร้างคอนโด 1 ชุด สามารถเลี้ยงกบได้ 100 ตัว สำหรับอาหารที่นำมาใช้เลี้ยงกบ ตามปกติก็มีอาหารกบขายอยู่ตามท้องตลาด แต่เพื่อประหยัดต้นทุน ก็ทดลองนำอาหารปลาดุกมาเลี้ยงกบได้ หรือผสมกล้วยน้ำว้าในอาหารให้กบกิน กบก็จะโตได้ตามปกติและยังให้น้ำหนักดีอีกด้วย




วิธีการเลี้ยงกบคอนโด

1. วัสดุอุปกรณ์
1.1 ยางรถ (ขนาด รถแทรกเตอร์ เลี้ยงได้100 ตัว,ขนาด รถ 10 ล้อ เลี้ยงได้ 50 ตัว, ขนาด 6 ล้อ เลี้ยงได้ 30 ตัว,ขนาด 4 ล้อ เลี้ยงได้ 20 ตัว)
1.2 ทรายหยาบ
1.3 ตะแกรง
1.4 กบพันธุ์ ( หลักการเลือกซื้อลูกกบ )
1.5 ปูนขาว
1.6 อาหารกบแท้ หรือปลาดุก
1.7 ถาดวางอาหาร

2. วิธีการเลี้ยง
2.1 เริ่มต้นด้วยการหาพื้นที่เลี้ยงกบ(แสงแดดส่องรำไร)
2.2 ใช้ทรายหยาบถมหนาประมาณ 6 นิ้ว
2.3 เสร็จแล้วให้ใช้ตะแกรงรองพื้น
2.4 แล้วเทหินเกล็ดทับตะแกรง หนาประมาณ 3 นิ้ว
2.5 วางคอนโด (ยางรถ 3 เส้น ซ้อนทับขึ้นไป)
2.6 ปล่อยกบลงคอนโด
2.7 นำตะแกรงปิดปากคอนโดของกบ ด้านบน เพื่อป้องกันกบกระโดดออกไป

3. อาหารกบและการให้อาหาร
3.1 ใช้อาหารปลาดุกเม็ดใหญ่ ให้กบกินทุกเช้า เย็น โดยวางอาหารไว้ในถาดด้านล่างคอนโด
3.2 อาหารเสริมเป็นผักบุ้งหั่นฝอย ให้กิน ทุก 2 วัน/ครั้ง
3.3 ใส่น้ำ 2 คอนโด (ชั้นที่ 1 และ 2) ถ่ายน้ำทุก 3 วัน
3.4 ล้างหินและอุปกรณ์ให้สะอาด ล้างด้วยจุลินทรีย์ผลไม้
3.5 ใช้ไฟส่อง ล่อแมลงให้กบกิน เป็นอาหารเสริม
3.6 เลี้ยงไปประมาณ 20 วัน ให้แยกขนาดกบเล็ก-ใหญ่

4. พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง เป็นกบคอนโด เป็นกบพันธุ์ ที่หาซื้อได้ตามฟาร์มทั่วๆไปครับ

5. ระยะเวลาการเลี้ยงกบประมาณ 2 เดือน

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อดี
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่จำกัดได้ดี และดีกว่าการเลี้ยงแบบใส่ขวดพลาสติก
2. ลงทุนต่ำ กว่าเลี้ยงในบ่อปูน
3. ให้อาหารกบได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปลืองอาหาร
4. ควบคุมโรคได้ง่าย ถ่ายน้ำสะดวก และใช้น้ำน้อยกว่า
5. เหมาะกับผู้เริ่มทดลองเลี้ยงเพื่อศึกษา ไม่หวังผลกำไร

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อเสีย
1. ยากต่อการสังเกตและดูแล หากเลี้ยงในปริมาณมากๆ
2. ไม่เหมาะกับการเลี้ยงจริงจังเชิงพาณิชย์ ที่ต้องมีปริมาณผลผลิตต่อเดือน

ที่มา : http://www.obobfarm.com/FrogFarm/?p=36

01 ธันวาคม 2552

การทำแหนมเห็ดนางฟ้า

การทำแหนมเห็ดนางฟ้า



 
การทำแหนม"เห็ดนางรม,นางฟ้า"

 
          ในการเพาะเห็ดนางฟ้านางรม เมื่อเก็บเกี่ยวและนำไปจำหน่าย พบว่าจะมีเศษเห็ด เห็ดที่แก่และบางส่วนเหลือจากบริโภค หรือเหลือจากการจำหน่าย น้อยบ้าง มากบ้าง คุณบุญเพ็ง คำเลิศ เกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้คิดค้นว่าเศษเห็ดเหล่านี้น่าจะนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ จนได้ศึกษาหาความรู้ การทำแหนมเห็ดเก็บไว้บริโภค ปรากฎว่า เมื่อลองทำและเก็บไว้กินกันเอง และมีเกษตรกรข้างเคียงสนใจขอซื้อไปบริโภค จึงได้ขยายปรับเปลี่ยนรสชาด เป็นแหนมสูตรที่เหมาะสำหรับคนกินเจและคนทั่วๆไป คือมีทั้งแหนมเห็ดสูตรเจ และแหนมเห็ดไม่เจ (ใส่หมู)

 

 

 
เครื่องปรุง/ส่วนผสม :

 
1. เห็ดนางฟ้านางรม หรือเห็ดฮังการี นึ่งสุกคั้นเอาน้ำออก 1 กิโลกรัม
2. เนื้อหมู 2 ขีด
3. ข้าวเหนียว 1 ปั้น
4. เกลือไอโอดีน 2 ช้อนแกง
5. กระเทียม 50 กรัม

 
วิธีทำแหนมเห็ด:

 
  1. ล้างเห็ดให้สะอาดเอาส่วนที่เป็นโคนออกให้เหลือแต่ดอกเห็ด เสร็จแล้วฉีกเป็นชิ้นเล็กๆเหมือนหนังหมูที่เราหั่นใส่แหนม จากนั้นนำเห็ดไปนึ่ง 3 นาทีเอามาผึ่งให้เย็น แล้วคั้นน้ำออก
  2. นำเนื้อหมูไปสับ กระเทียมปอกเปลือกทุบให้ละเอียด นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำไปนึ่งอีก 1-2 นาที แล้วนำมาห่อด้วยพลาสติก หรือใบตอง ถ้าต้องการรับประทานเร็วให้ใส่ข้าวมากๆ แหนมจะเปรี้ยวเร็ว

 
***หมายเหตุในกรณีจะทำแหนมเจ ไม่ต้องใส่หมู

 

 
แหล่งข้อมูล : คุณบุญเพ็ง คำเลิศ เกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ

 
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

การปลูกผักปลอดสารพิษในกระสอบเก่า

การปลูกผักปลอดสารพิษในกระสอบเก่า

          คุณ โสทร รอดคงที่ บัณฑิตหนุ่มจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี หันหลังจากงานประจำมาเริ่มต้นทำงานเกษตรแบบพอเพียง โดยการปลูกผักแบบปลอดสารพิษในกระสอบเก่า โดยแนะนำว่าสามารถใช้ได้ทั้งกระสอบปุ๋ย, กระสอบอาหารสัตว์, กระสอบแป้งสาลี หรือกระสอบต่าง ๆ ขนาดใดก็ ได้ ยกเว้นกระสอบป่าน สำหรับกระสอบปุ๋ยบางชนิดที่น้ำซึมผ่านยากนั้นควรนำมาเจาะรูให้สามารถระบาย น้ำได้ก่อน แต่ถ้าเป็นกระสอบที่น้ำซึมผ่านได้ดี ก็นำมาใช้ได้เลย

          ดินที่จะนำมาใส่กระสอบนั้น ก็ จะต้องผสมให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเน้นวัสดุปลูกที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ปุ๋ยคอกเก่า, ปุ๋ยหมัก, แกลบ, แกลบเผา, เศษใบไม้ ฯลฯ คลุกเคล้า ให้เข้ากัน คุณโสทรแนะว่า ถ้าผสมปุ๋ยหมักจุลินทรีย์โบกาฉิ ได้ด้วยก็จะยิ่งดี วิธีการทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ คือ นำปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ผสมกับรำละเอียด 1 ส่วน ผสมกับแกลบหรือหญ้าแห้ง ฟางแห้ง ทะลายปาล์ม หรืออื่น ๆ 1 ส่วน คลุกเคล้ากันให้ทั่ว จากนั้น นำกากน้ำตาล 40 ซีซี ละลายน้ำ 10 ลิตร ใส่จุลินทรีย์ 40 ซีซี คนให้เข้ากัน

          หลังจากนั้นนำน้ำที่ได้ไปราดคลุกเคล้ากับวัสดุที่เตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ทดสอบว่า วัสดุปลูกใช้ได้หรือยัง ทดสอบโดยใช้มือขยำวัสดุปลูกดู หากยังมีน้ำไหลออกระหว่างนิ้ว แสดงว่าวัสดุปลูกแฉะเกินไป ให้เพิ่มวัสดุเข้าไปอีก ถ้าขยำเป็นก้อน แล้วปล่อยมือ ถ้าก้อนไม่แตกออกมาแสดงว่าพอดี ถ้าปล่อยมือแล้วก้อนวัสดุแตกทันที แสดงว่าวัสดุยังแห้งเกินไป ให้ราดน้ำจุลินทรีย์เพิ่มลงไป หมักวัสดุดังกล่าวโดยการกองไว้ในที่ร่ม ใช้กระสอบป่านคลุม ควรกลับกองวันละ 1 ครั้ง กลับกองปุ๋ยเรื่อยไปจนกว่าจะเย็น ซึ่ง ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จะ นำมาใช้ได้ก็ราว 7- 10 วัน

          ก่อนที่จะใส่วัสดุปลูกลงในกระสอบนั้น ผู้ปลูกจะต้องรู้ก่อนว่าจะปลูกผักชนิดใด เพื่อใส่ดินให้เหมาะกับชนิดผักนั้น ๆ เช่น ถ้าปลูกผักที่มีรากยาว อย่างพริก, มะเขือเทศ, มะเขือเปราะ, มะเขือยาว ฯลฯ เราก็ต้องพับหรือม้วนปากกระสอบลงมาแล้วใส่ดินปลูกให้สูง 20-25 ซม. ถ้าปลูกผักที่มีรากสั้น อย่างผักกินใบ พวกคะน้า, กวางตุ้ง, ฮ่องเต้ ฯลฯ ก็ใส่ดินน้อยลงมา ให้สูงสัก 10-15 เซนติเมตร แต่การวางกระสอบในแนวตั้งจะทำให้ได้พื้นที่ในการปลูกน้อยแนะนำให้ใช้วิธีการ ใส่ดินในกระสอบประมาณครึ่งกระสอบแล้วมัดปากกระสอบด้วยเชือก วางกระสอบให้นอนลง จากนั้นก็ทำการเจาะรูที่กระสอบ อุปกรณ์ในการเจาะ หากระป๋องปลากระป๋องมาทาบแล้วใช้มีดคัตเตอร์ตัดเป็นวงกลม เพื่อให้ หยอดเมล็ดผักได้ โดยจำนวนรูที่เจาะก็ตามความเหมาะสมประมาณ 9-12 รู แล้วแต่ขนาดของกระสอบ จากนั้นนำเมล็ดผักมาหยอดปลูกได้ทันที รดน้ำเช้า-เย็น เมื่อต้นผักงอก มีใบจริง 2-3 ใบ ก็ให้รดน้ำหมักชีวภาพ.




ที่มา : http://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_content&view=article&id=1222:2009-10-13-05-06-35&catid=10:2009-07-21-03-16-58&Itemid=14

การปลูกกระเทียม

การปลูกกระเทียม โดย ผศ. ประสิทธิ์ โนรี

กระเทียม มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น กระเทียมจีน(ทั่วไป),กระเทียมขาว, หอมขาว (อุดรธานี),กระเทียมหัวเทียม(คาบสมุทร)และหอมเตียม(ภาคเหนือ) เป็นต้น เป็นพืชผักอายุหลายปี แต่นำมาปลูกเป็นผักอายุปีเดียว มีกำเนิดอยู่ในแถวเอเชียกลาง สันนิษฐานว่าเป็นพืชดั้งเดิมของจีนและอินเดีย รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ มีบันทึกกล่าวว่าชาวโรมันไม่ชอบกระเทียม เนื่องจากมีกลิ่นแรง แต่จะใช้ประกอบอาหารสำหรับทหารและทาส

กระเทียมอยู่ในตระกูลเดียวกับหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และ กุ่ยฉ่าย โดยกระเทียมจะสร้างกลีบหลาย ๆ กลีบและถูกห่อหุ้มรวมกันอยู่ใต้เปลือก ซึ่งมีลักษณะบางสีขาวหรือชมพู หุ้มให้เป็นตัวเดียว ใบเป็น ใบเลี้ยงเดี่ยว และแบน สามารถออกดอกและให้เมล็ดได้ นิยมขยายพันธุ์ด้วยกลีบเพราะให้ผลดีกว่า กระเทียมจะมีคุณค่าทางอาหารต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักอื่น ๆ แต่อาหารบางชนิดจะหมดรสชาติ ถ้าหากขาดกระเทียม โดยเฉพาะผู้ที่นิยมรสและกลิ่นของกระเทียม นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาแผล หลอดลมอักเสบ ไอ ท้องอืด เฟ้อ อาหารไม่ย่อย โรคผิวหนังบางประเภท และความดันโลหิตสูง


กระเทียบเป็นพืชผักประเภทเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 75-180 วัน ปกติเจริญเติบโตได้ดีในอากาศเย็นอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 12-22 องศาเซลเซียส ช่วงแสงแดดยาวประมาณ 9-11 ชั่วโมงต่อวัน มีระยะการพักตัวเช่นเดียวกับพืชตระกูลหอมทั่ว ๆ ไป ประมาณ 5-6 เดือน ถ้าหากเก็บรักษานานกว่านี้ จะเริ่มฝ่อหรืองอก โดยในปีแรกกระเทียมจะฝ่อเสียหายประมาณ 60-70%

กระเทียมที่ใช้เป็นอาหารมีอยู่ 2 ประเภท :
1. กระเทียมต้น ไม่มีหัว ปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ เพื่อรับประทานลำต้นและใบเป็นพืชผักสดเท่านั้น
2. กระเทียมหัว ปลูกด้วยกลีบหรือหัวพันธุ์ มีหลายพันธุ์ ซึ่งมาจากแหล่งต่าง ๆ กันมีอายุยาวนานกว่าประเภทแรก

พันธุ์ที่ใช้ปลูก :
ภาคเหนือนิยมปลูกพันธุ์พื้นเมืองเชียงใหม่ เชียงรายและพม่า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมปลูกพันธุ์พื้นเมืองศรีสะเกษ และภาคกลางนิยมปลูกพันธุ์บางช้าง และพันธุ์จีน หรือไต้หวัน

พันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรา : สามารถแบ่งได้ตามอายุการแก่เก็บเกี่ยวได้ ดังนี้
1.พันธุ์เบาหรือพันธุ์ขาวเมือง ลักษณะใบแหลม ลำต้นแข็ง กลีบเท่าหัวแม่มือ กลีบและหัวสีขาว มีกลิ่นฉุนและรสจัด อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 75-90 วัน เช่น พันธุ์พื้นเมืองศรีสะเกษ เป็นต้น
2.พันธุ์กลาง ลักษณะใบเล็กและยาว ลำต้นใหญ่ และแข็ง หัวขนาดกลาง หัวและกลีบสีม่วง อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน นิยมปลูกมากในภาคเหนือ เช่นพันธุ์พื้นเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น
3.พันธุ์หนัก ลักษณะใบกว้างและยาว ลำต้นเล็ก หัวใหญ่ กลีบโต เปลือกหุ้มสีชมพู น้ำหนักดี อายุแก่เก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน เช่น พันธุ์จีน หรือไต้หวัน เป็นต้น

แหล่งเพาะปลูก :
กระเทียมสามารถเพาะปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศแต่เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่เป็นดินร่วน หรือระบายน้ำได้ดีและมีอุณหภูมิอากาศค่อนข้างหนาวเย็น เป็นระยะเวลายาวนานหลายเดือน ดังนั้นบริเวณเพาะปลูกกระเทียมที่สำคัญของไทย ส่วนใหญ่จึงอยู่ทางภาคเหนือตอนบน ที่สำคัญได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และอุตรดิตถ์ นอกจากนี้มีเพาะปลูกข้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ศรีสะเกษและบุรีรัมย์

ระยะเวลาเพาะปลูก : การเพาะปลูกกระเทียมส่วนใหญ่ จะปลูก 2 ช่วง คือ
1.เพาะปลูกช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายนและเก็บเกี่ยวเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อายุประมาณ 75-90 วันกระเทียมรุ่นนี้เรียกว่ากระเทียมดอ หรือกระเทียมเบา นิยมใช้ทำกระเทียมดอง ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะฝ่อเร็ว
2.เพาะปลูกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม หลังการเก็บเกี่ยวข้าวและเก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อายุประมาณ 90-120 วัน เรียกว่ากระเทียมปี ใช้ทำกระเทียมแห้งเพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน

การเตรียมดินปลูก :
ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกระเทียม ควรเป็นดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ถ้าดินเป็นกรดจัดจะทำให้กระเทียมไม่เจริญ ควรใส่ปูนขาวก่อนปลูกอย่างน้อย 15 วัน เพื่อปรับสภาพดินให้เป็นกรดอ่อน ๆ(pH 5.5-6.8)ก่อนไถควรหว่านปุ๋ยคอกก่อนประมาณ 4 ตันต่อไร ถ้าเป็นดินเหนียวควรใช้ไถบุกเบิกก่อนพรวน ถ้าเป็นดินร่วนใช้เฉพาะพรวนและยกแปลงเพื่อการให้น้ำและระบายน้ำได้ดี
** การเตรียมดินดีจะช่วยให้กระเทียมลงหัวดีและควรเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1 - 2.5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูกระยะห่างระหว่างแปลง (ทางเดินหรือร่องน้ำ) ควรกว้าง 50 ซม.

การปลูกกระเทียม :
* กระเทียมปลูกโดยใช้กลีบซึ่งประกอบเป็นหัว นิยมใช้กลีบนอกปลูก เนื่องจากกลีบนอกมีขนาดใหญ่ จะให้กระเทียมที่มีหัวใหญ่และผลผลิตสูง การนำกระเทียมไปปลูกในฤดูฝน จะทำให้กระเทียมงอกไม่พร้อมกัน โตไม่สม่ำเสมอกัน
** ขนาดของกลีบจะมีอิทธิพลหรือความสำคัญ ต่อการลงหัวของกระเทียม จากการศึกษาพบว่าพันธุ์ที่มีกลีบใหญ่ ถ้าหากใช้กลีบขนาดกลางปลูกจะทำให้ผลผลิตสูง พันธุ์ที่มีกลีบขนาดเล็ก ถ้าใช้กลีบใหญ่ที่สุดปลูกจะให้ผลผลิตสูง
*** ปกติกลีบที่มีน้ำหนัก 2 กรัม จะให้ผลผลิตสูง

การปลูกอาจให้น้ำก่อนและใช้กลีบกระเทียมจิ้มลงไปโดยเอาส่วนรากลงลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบ เป็นแถวตามระยะปลูกที่กำหนด ในพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้หัวพันธุ์ 100 กก. หรือกลีบ 75-80 กก. ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 -15 ซม. จะให้ผลผลิตสูงที่สุด สำหรับกระเทียมจีนใช้ระยะปลูก 12-12 ซม. และหัวพันธุ์ 300-350 กก.ต่อไร่ หลังปลูกจะใช้ฟางคลุมแปลงเพื่อควบคุมวัชพืช ที่จะมีขึ้นในระยะแรก เก็บความชื้นและลดความร้อนเวลากลางวัน

การให้น้ำ :
ควรให้น้ำก่อนปลูก และหลังปลูกกระเทียมควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงระหว่างเจริญเติบโต 7-10 วัน/ครั้ง สรุปแล้วจะให้น้ำประมาณ 10 ครั้ง/ฤดู ควรงดการให้น้ำเมื่อกระเทียมแก่จัด ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์

การคลุมดิน :
หลังปลูกกระเทียมควรคลุมดินด้วยฟางข้าวแห้ง เศษหญ้าแห้ง หรือเศษวัสดุที่สามารถผุพังเน่าเปื่อยอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อควบคุมวัชพืชที่จะมีขึ้นในระยะแรก รักษาความชื้นในดิน ประหยัดในการให้น้ำและลดอุณหภูมิลงในเวลากลางวัน ทำให้กระเทียมสามารถเจริญเติบโตได้ดี

การใส่ปุ๋ย :
ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้สำหรับกระเทียมในบ้านเรา ควรมีส่วนของไนโตรเจนเท่ากับ 1 ส่วน ฟอสฟอรัส 1 ส่วน และโปแตสเซี่ยม 2 ส่วน เช่น ปุ๋ยสูตร 10-10-15, 13-13-21 เป็นต้น อัตราปริมาณ 50-100 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นตอนปลูก แล้วพรวนกลบลงในดิน ปริมาณครึ่งหนึ่งและใส่ครั้งที่ 2 ใส่แบบหว่านทั่วแปลง เมื่ออายุประมาณ 30 วันหลังปลูก ควรใช้ปุ๋ยเสริมไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก อัตราประมาณ 25-30 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 10-14 วันหลังปลูก

การกำจัดวัชพืช :
กระเทียมเป็นพืชที่มีรากตื้น ดังนั้นควรกำจัดวัชพืชในระยะที่วัชพืชเริ่มงอก ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะแย่งน้ำอาหารและแสงแดดจากกระเทียมแล้ว เมื่อถอนจะทำให้รากของกระเทียมกระเทือนทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้ต้นเหี่ยวตายได้ ฉะนั้นเมื่อวัชพืชมี ขนาดใหญ่ควรใช้มีดหรือเสียมมือเล็ก ๆ แซะวัชพืชออก

ส่วนสารเคมีกำจัดวัชพืชที่เกษตรกรในบ้านเรานิยมใช้กันมากคืออะลาคอร์ (ชื่อการค้า = แลสโซ่) อัตรา 0.36-.045 กก.ต่อไร่ (ของเนื้อยาบริสุทธิ์) โดยพ่นคุลมดินหลังปลูกก่อนที่กระเทียมและวัชพืชงอก นอกจากนี้ยังใช้ยาพาราควอซ์ (ชื่อการค้า = กรัมม๊อกโซน) พ่นตามร่องน้ำระหว่างแปลงทุกครั้งหลังจากให้น้ำ

การกำจัดโรค-แมลง :
กระเทียมมีโรค-แมลงรบกวนมากทั้งในระยะที่กำลังเจริญเติบโต ( จะทำให้ผลผลิตลดลงต่ำมาก) และหลังการเก็บเกี่ยว ดังนี้

โรคที่สำคัญของกระเทียม
1.โรคใบเน่า มีเชื้อรา เป็นสาเหตุ
ลักษณะอาการ เริ่มแรกจะมีแผลเกิดขึ้นบนใบกระเทียม ลักษณะเป็นจุดสีเขียวหม่นและขยายออกไปเป็นแผลรูปยาวรี มองเห็นเป็นรอยบุ๋มเล็กน้อย ใบหนึ่ง ๆ อาจมีหลายแผลติดกัน จนใบแห้งและหักพับลงมา ทำให้ใบพืชไม่สามารถปรุงอาหารตามปกติได้ ถ้าเป็นในระยะที่ลงหัว หรือหัวแก่จัด และเกษตรกรเก็บรักษาหัวนั้นไว้ เชื้อโรคนี้อาจจะไปแพร่ระบาดในโรงเก็บได้

การป้องกันกำจัด
- เก็บส่วนใบที่เป็นแผลทิ้ง หรือเผาไฟ
- พ่นสารเคมี เช่น ไดโฟล่แทน หรือไดเทน-เอ็ม-45 ทุก 7 วัน ถ้าเป็นมากควรพ่นให้ถี่ขึ้นเป็น 3-5 วัน หรือเพิ่มความเข้มข้นของยาเป็น 2 เท่า

2. โรคใบจุดสีม่วง มีเชื้อรา เป็นสาเหตุ
ลักษณะอาการ เกิดกับใบกระเทียม เริ่มแรกจะมีแผลหรือจุดสีขาวก่อน และจะขยายใหญ่เป็นแผลรูปยาวรี สีน้ำตาลอ่อนหรือม่วง ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มหรือเหลือง แผลมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ในแต่ละใบอาจมีมากกว่า 1 แผล ทำความเสียหายแก่กระเทียมเช่นเดียวกับโรคใบเน่า และสามารถทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต มีการเก็บเกี่ยวก่อนกำหนด หัวกระเทียมที่ได้ไม่แก่จัด ไม่เหมาะที่จะใช้ทำพันธุ์และทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

การป้องกันกำจัด คล้าย ๆ กับโรคใบเน่า และเฉพาะโรคชนิดนี้งดใช้ยากันราประเภทดูดซึมพวกเบนเลท
** นอกจากนี้ก็มีโรคราน้ำค้าง ราดำ หัวและรากเน่าคอดินและเน่าเละ เป็นต้น

แมลงศัตรูที่สำคัญ :
1. ไรขาวหรือไรหอมกระเทียม
ลักษณะอาการ เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบพืช ทั้งอ่อนและแก่ สามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้งในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ทำให้ใบและยอดอ่อนของกระเทียม มีอาการ หงิก งอ ม้วนตัวแน่น ไม่คลี่ยาวเหยียดไป และจะระบาดรวดเร็วมากในไม่ช้า ใบก็จะเริ่มมีลายสีเขียวอ่อนและขาว จนในที่สุดเป็นสีเหลืองฟางข้าวและใบแห้งเหี่ยวคล้ายใบไหม้
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูแปลงกระเทียม ถ้าพบว่ากระเทียมแสดงอาการดังกล่าวให้รีบถอนทิ้ง
- ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงพวก พอสซ์ หรือโตกุไธออน ทุก 3 วันต่อครั้ง ประมาณ 4-5 ครั้ง จนแน่ใจว่าหยุดลุกลาม จึงฉีดยาให้มีระยะห่างได้

2.เพลี้ยไฟหอม
ลักษณะอาการ ลำตัวขนาดยาว 1-1.2 มม. ตัวอ่อนสีน้ำตาลอ่อนถึงเขียว ตัวแก่สีเหลืองซีดถึงน้ำตาลอ่อน ทำลายกระเทียมโดยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ ทำให้เป็นจุดสีขาวซีด บางครั้งเป็นจุดลึกลงไปทำให้ใบซีดขาวและเหี่ยวแห้ง

การเก็บเกี่ยว : ลักษณะการแก่จัดของกระเทียม สามารถสังเกตได้ดังนี้
- มีตุ่มหรือหัวขนาดเล็ก ๆ เกิดขึ้นที่ลำต้นของกระเทียมตั้งแต่ 1 ตุ่มขึ้นไป
- ส่วนของยอดเจริญขึ้นมาหมดแล้วและกำลังมีต้นดอกชูขึ้นมา
- ใบกระเทียม เริ่มแห้งตั้งแต่ปลายใบลงมามากกว่า 30%
- ใบหรือต้นกระเทียม เอนหัก ล้มนอนไปกับพื้นดิน 25 % ขึ้นไป
- ดอก หรือโคนลำค้น บีบดูจะรู้สึกอ่อนนิ่ม

ถ้าพบลักษณะดังกล่าว ให้เริ่มถอนกระเทียมได้ โดยทั่วไปกระเทียมจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 100-120 วันหลังปลูกหรือเมื่อถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวใบจะแห้ง ถ้าเก็บเกี่ยวช้าเกินไปจะทำให้กลีบร่วงได้ง่ายและได้กระเทียมที่มีคุณภาพไม่ดี

วิธีเก็บเกี่ยว คือ ถอนและตากแดดในแปลงประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยวางสลับกันให้ใบคลุมหัวเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด โดยตรง ตากไว้ 2-3 วัน ระวังอย่าให้ถูกฝนและน้ำค้างแรงในเวลากลางคืน นำมาผึ่งลมในที่ร่มสักระยะหนึ่ง ประมาณ 5-7 วัน ให้หัวและใบแห้งดี หลังจากนั้นนำมาคัดขนาดและมัดจุกตามต้องการ

การเก็บรักษา :
กระเทียมที่มัดจุกไว้นำไปแขวนไว้ในเรือนโรงเปิดฝาทั้ง 4 ด้าน หรือใต้ถุนบ้านที่มีการถ่านเทอากาศดี ไม่ถูกฝน หรือน้ำค้าง รวมทั้งแสงแดด ประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะทำให้กระเทียมแห้งสนิท คุณภาพดี จึงนำลงมากองสุ่มรวมกันเพื่อเก็บรักษาหรือขายต่อไป กระเทียมหลังจากเก็บ 5-6 เดือน จะสูญเสียน้ำหนักไปประมาณ 30% ถ้าหากเก็บข้ามปีจะมีส่วนสูญเสีย 60-70%

การเก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง :
เลือกคัดเอาหัวที่มีลักษณะรูปทรงของพันธุ์ดี สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงทำลาย และแก่เต็มที่แล้ว โดยทั่วไปนิยมคัดหัวที่มีขนาดกลาง มีกลีบประมาณ 3-6 กลีบ นำมาผึ่งในที่ร่มจนแห้งดี ทำการมัดรวมกันแล้วแขวนไว้ในที่ร่มมีลมพัดผ่าน การถ่ายเทอากาศดี ไม่ควรแกะกระเทียมเป็นกลีบ ๆ ขณะเก็บรักษาเพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง เมื่อแกะแล้วควรจะนำไปใช้ปลูกทันที

กระเทียมจะมีระยะพักตัวประมาณ 5-6 เดือน ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมกระเทียมจะงอกได้ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป กระเทียมที่เก็บรักษาไว้จะต้องนำปลูกก่อนเดือนกุมภาพันธุ์ถ้าหากไม่นำลงปลูกจะฝ่อเสียหาย หรืองอกทั้งหมด.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ 50290 โทร. 053-873938-9
http://www.it.mju.ac.th/

ที่มา : http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1192&s=tblplant

ตัดภาพให้เป็นวงกลม (Photoshop)

ตัดภาพให้เป็นวงกลม (Photoshop)


เรามาเริ่มต้นจากเมื่อเปิดภาพที่ต้องการ ในโปรแกรม Photoshpo กันเลยนะครับ

1. เลือกเครื่องมือ Elliptieal Marquee Tool (M)
2. เลือก Feather บนแถบเครื่องมือ ว่าต้องการให้ขอบของภาพคมชัดหรือมีความเบลอ(ฟุ้ง)ขนาดไหน


3. คลิกปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้ แล้วลากจากซ้ายบนลงขวาล่าง บนภาพตรงส่วนที่ต้องการ โดยหากต้องการให้เป็นรูปวงกลม ให้กด Shift ค้างไว้พร้อมกับลากเมาส์ สำหรับวงรีให้ลากเมาส์ได้ตามต้องการ
4. บนแถบเครื่องมือ คลิกเลือก Select / Inverse หรือ Shift+Ctrl+I ก็ได้


5. เสร็จแล้ว กด Delete



6. เพื่อเก็บรายละเอียด เลือกเครื่องมือ Crop Tool (C) แล้วคลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้ ลากจากมุมซ้ายลงมาขวาล่าง ให้ล้อมรอบภาพในส่วนที่ต้องการ

7. กด Enter ก็จะได้ภาพที่ตัดเป็นรูปวงกลมตามต้องการนะครับ


ถ้าไม่เข้าใจหรืองงตรงไหน ก็คอมเม้นท์มาได้นะครับ...

30 พฤศจิกายน 2552

การเปลี่ยนรหัสผ่าน hotmail

การเปลี่ยนรหัสผ่าน hotmail

วิธีเปลี่ยน password ของ hotmail
1. login เข้า User Hotmail ของเราปกติ
2. สังเกตมุมบนด้านขวามือจะมีคำว่า “ตัวเลือก” ถ้าเป็นภาษอังกฤษก็ “Option” คลิกเข้าไปเลยครับ



3. มีเมนูยื่นลงมา ล่างสุดจะเป็น “ตัวเลือกเพิ่มเติม”, “more options”
4. หัวข้อแรก “จัดการบัญชีของคุณ” จะมี “ดูและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ” เข้าไปเลยครับ “Manage your account” > “View and edit your personal information”



5. ดูที่ “ข้อมูลการกำหนดรหัสผ่านใหม่” รหัสผ่าน:****** เปลี่ยน, “Password reset information” Password: ****** Change คลิกที่นี่เลย



6. ใส่รหัสผ่านเดิม ใส่รหัสผ่านใหม่ ยืนยันรหัสผ่านใหม่ กด บันทึก
แค่นี้คุณก็เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ ให้กับ Hotmail ได้แล้วครับ

ที่มา : http://www.blogintrend.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99-password-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-hotmail.html

การเปลี่ยนภาษา ใน hotmail

การเปลี่ยนภาษา ใน hotmail  จากภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยนะครับ
1. คลิกที่ options
2. คลิกที่ English
3. เลือก ไทย
4. คลิก save
เท่านี้ก็สามารถเปลี่ยนได้แล้วนะครับ

อาชีพขายหมูปิ้ง

อาชีพขายหมูปิ้ง (ขายข้าวเหนียวหมูปิ้ง)

เงินลงทุน
เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 3,600 บาท(รถเข็น 3,000 บาท เตาถ่านและตะแกรงย่าง 100 บาท)

รายได้
ประมาณ 6,000 บาท/เดือน

อุปกรณ์
รถเข็น เตาถ่านและตะแกรงย่าง ไม้เสียบหมูย่าง ถุงพลาสติก

วิธีทำส่วนผสม
หมู 1 กิโลกรัม กะทิ ½ ถ้วยตวง
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนชา
รากผักชี กระเทียม พริกไทยโขลกละเอียด 1 ช้อนชา

วิธีทำ
หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นบางๆ กว้าง 1 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว นำมาคลุกกับน้ำตาลทราย น้ำปลา ซีอิ๊วดำ กระเทียม พริกไทย รากผักชี หมักไว้ 1 ชั่วโมง จากนั้นนำหมูมาเสียบไม้ ย่างไฟปานกลาง ขณะที่ย่างพรมหัวกะทิ ย่างจนสุกได้ที่

ข้าวเหนียว
นำข้าวเหนียวประมาณ 2 กิโลกรัม แช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน จึงซาวน้ำทิ้ง แล้วนำมานึ่งโดยใส่น้ำอย่าให้ท่วมข้าวเหนียว นึ่งประมาณครึ่งชั่วโมง

ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ตลาด แหล่งชุมชน

ข้อแนะนำ
1. หากบริเวณที่อยู่อาศัยเป็นทำเลที่เหมาะกับการค้าขาย ก็ไม่ต้องซื้อรถเข็น ทำให้ประหยัดเงินลงทุนได้
2. ทำให้สะอาดน่ารับประทาน และใช้เนื้อหมูสด ๆ ไม่ผสมสีหรือสารกันบูด

แหล่งที่มา กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหา งาน

อาชีพขายผลไม้

อาชีพขายผลไม้

1. อาชีพนี้ขายได้ทุกวัน ขายได้ทุกมื้อ
ผลไม้จะขายได้ดีกว่าขนมหวาน เพราะมีคนซื้อเยอะ ผู้หญิงซื้อ ผู้ชายซื้อ คนทำงานซื้อ สาวโรงงานซื้อ คนทำราชการซื้อ นักเรียนนักศึกษาซื้อ แถวสถานีขนส่งซื้อ แถวหน้าโรงหนังซื้อ ย่านคนรวยซื้อ ย่านตลาดสดซื้อ บางแหล่งแม้เวลาดึกดึกก็ยังซื้อ

แถวๆที่ทำงานของผม มีแผงขายผลไม้ประเภทปอกตัดแบ่งขาย อย่างนี้อยู่ 3 แผง และมีรถเข็นอยู่ 3 คัน(หรือ 3 แผง) แต่มีร้านขายขนมหวานอยู่แค่ 1 แผงครึ่ง เอง ที่เรียกว่าครึ่งแผง ก็เพราะว่าบางวันเธอก็ขาย บางวันเธอก็ไม่ขาย รู้สึกว่าตอนต้นเดือนเธอจะมาขายต่อเนื่อง 2-3 วัน แต่วันอื่นๆจะไม่แน่ แต่แผงขายผลไม้ปอกตัดแบ่งขายแบบนี้ มาขายทุกวัน มาพร้อมกันทั้ง 6 แผง สามัคคีกันขายเอากำไรจริงๆ

2. อาชีพนี้ขายสะดวก ไม่ต้องปรุงก่อนขาย
ปอกเปลือกเสร็จก็ตัดแบ่งขายได้ทันที เคยสังเกตแหล่งขายบางแหล่ง คนขายดูยังวัยรุ่นอยู่เลย ยังหั่นและตัดผลไม้ไม่ค่อยคล่อง คงจะเพิ่งหัดขาย แต่อาชีพนี้ก็มีข้อดีแบบนี้ ผลไม้ตัดแบ่งขาย มันจะอร่อยด้วยตัวของมันเอง ไม่จำเป็นจะต้องใช้ฝีมือในการปรุงเข้ามาช่วย

3. อาชีพนี้ขายโดยเงินลงทุนน้อย
ไม่ต้องจัดหาถ้วยชาม ไม่ต้องมีเงินหลักหมื่นหลักแสนก็สามารถทำธุรกิจได้ อาจซื้อมาน้อยเดินเร่ขายน้อย แต่ถ้ามีเงินเยอะก็สามารถใช้เงิน คัดเกรทผลไม้ดีๆมาจัดวางขายบนรถเข็น บนแผงผลไม้ มีตู้กระจก มีน้ำแข็งรักษาความสด และสามารถเลือกขาย ณ ทำเลหรูมีแอร์ อย่างแถวศูนย์การค้า แถวหน้าโรงหนัง หรือแถวFood Centerของสำนักงานตึกสูงๆ และจ้างเด็กขาย

4. อาชีพนี้ขายได้กำไรสูง
ผมเอง…ซื้อผลไม้กินทุกมื้อหลังทานข้าว เพราะผมไม่ชอบกินของหวาน ผมมีแผงผลไม้ที่ซื้อประจำอยู่ที่ทำงาน 2 แผง อยู่ที่บ้าน 2 แผง ที่เลือกไว้อย่างละ 2 แผง ก็เพื่อว่า ถ้าแผงใดผลไม้ไม่ดี ก็ซื้ออีกแผงหนึ่งแทน แต่ถ้าดีทั้งสองแผงก็ซื้อแผงละถุง ซะ

ทีนี้ ความที่ผมซื้อเขาประจำมาหลายปี แผงทั้งสองก็เลยสนิทกับผม ต่างพยายามจะเรียกให้ผมซื้อบ่อยๆ พยายามจะเลือกของดีให้ พยายามจะแถมให้ บางครั้งแค่ผมจอดรถสั่งแล้วค่อยมารับ เขาก็เตรียมผลไม้ดีๆรอใส่ถุงให้มารับได้เลย เพื่อนๆจึงชอบฝากให้ผมช่วยซื้อผลไม้เป็นประจำ
.......ก็เพราะอย่างนี้

ผมก็เลยรู้ความจริงว่า ขายผลไม้ปอกเปลือก ตัดแบ่งขายแบบนี้ ได้กำไรเท่าตัว

แตงโมใบโตเนื้อแดงกรอบหวาน ลูกละ 40 บาท จะแบ่งขายได้ 8 ชิ้น
ชิ้นละ 10 บาท ถ้าลูกขนาดปกติลูกละ 30 บาท จะแบ่งขายได้ 6 ชิ้น ชิ้นละ 10 บาท

แคนตาลูปเนื้อเหลืองหวานและหอม ลูกละ 33 บาท จะแบ่งขาย 2 ซีก ซีกละ 33 บาท

มะละกอแขกดำเนื้อแน่นหวานสีแดงส้ม ลูกละ 30 บาท จะแบ่งขายได้ 6 ชิ้น ชิ้นละ 10 บาท

สับปะรดลูกโตเนื้อหวานฉ่ำทั้งลูก ลูกละ 30 บาท จะแบ่งขายได้ 6 ชิ้น ชิ้นละ 10 บาท

ฝรั่งแก่จัดรสกรอบหวาน โลละ 30 บาท ราวๆ 3 ลูก จะเฉาะใส่ถุงขายได้ 6 ถุง ถุงละ 10บาท

ชมพู่ องุ่น มันแกวก็เช่นกัน ซื้อมาเป็นกิโล แบ่งขายถุงละ 10 บาท ได้กำไรเท่าตัวทุกประเภท

ส้มเช้ง ละมุด พวกนี้จะยากตอนปอกเลือกและตัดแบ่งขาย แต่ราคาที่ขายถุงละ 20 บาท ก็ได้กำไรเท่าตัวทุกประเภทเช่นเดียวกัน

หากท่านสนใจจะทำอาชีพนี้ สิ่งที่ท่านควรจะมี ก็คือ
1. ท่านจะต้องรู้จักธรรมชาติของผลไม้ และมีฝีมือเลือกผลไม้เป็น
ท่านจะต้องรู้ว่าผลไม้บางอย่างซื้อเก็บไม่ได้ เช่น ฝรั่ง ชมพู่ องุ่น มันแกว เพราะซื้อเก็บมันจะไม่สด จะต้องซื้อผลไม้พวกนี้วันต่อวัน แต่ผลไม้บางอย่างท่านซื้อเก็บได้ เช่น มะละกอ แตงโม สับปะรด ส้มเช้ง

ผลไม้บางอย่างท่านจะต้องจับต้องและห่อหุ้มต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่งั้นจะผลไม้จะเสียสภาพหมด ทั้งช้ำและไม่สวย เช่น มะละกอ ฝรั่ง ชมพู่ ละมุด

ท่านจะต้องเลือกผลไม้เป็น เมื่อปอกออกแล้วจะต้องเป็นผลไม้ที่กินอร่อย ถ้าเลือกไม่เป็นท่านจะต้องหาคนที่เขาเลือกเป็นจริงๆ ไปช่วยท่านเลือกด้วยในระยะแรก เมื่อท่านชำนาญแล้วจึงไปเลือกซื้อเองคนเดียว

การซื้อ ท่านไม่ควรเลือกซื้อทุกลูกจากผู้ขายเจ้าเดียว ควรเลือกผลไม้ที่ดีที่สุดจากผู้ขายหลายเจ้า และท่านต้องทราบแหล่งที่มีผู้ขายหลายเจ้าด้วยว่าอยู่ที่ไหน เช่น แถวตลาดมหานาค และตลาดสี่มุมเมือง

ท่านควรจะทราบเวลาที่ผลไม้แต่ละชนิดลงขาย และควรจะขยันไปเลือกซื้อก่อนผู้อื่นทุกวัน หากราคาที่ซื้อจะแพงหน่อย ก็อาจจะจะยอมซื้อเพื่อหวังขายคุณภาพเพื่อให้ลูกค้าติดใจ แล้วค่อยตัดแบ่งขายแพงหน่อย ก็แล้วกัน กินของดีแต่แพงหน่อย ลูกค้าบางกลุ่มเขาก็ไม่ว่าหรอก

2. ท่านจะต้องปอกผลไม้และตัดแบ่งผลไม้เป็น
ท่านจะต้องปอกผลไม้เร็วตัดแบ่งเร็ว ปอกสวยตัดแบ่งผลไม้สวย ดูน่ากิน ขนาดเท่ากัน ไม่ช้ำ มีดคม ไม่เฉือนเนื้อออกเยอะเกินไป ไม่ตัดแบ่งผลไม้แล้วเหลือเศษชิ้นเล็กๆมากเกินไป

3. ท่านจะต้องสะอาด
ท่านจะต้องล้างผิวผลไม้ล้างให้สะอาดแต่เบามือ อาจต้องล้างด้วยผ้านุ่มหรือฟองน้ำผิวละเอียด อาจต้องล้าง 2 น้ำ ผลไม้บางชนิดอาจต้องล้างด้วยด่างทับทิมหรือ baking soda เพื่อให้สะอาดปราศจากสารปนเปื้อน

มือที่จะปอกและตัดแบ่งผลไม้ต้องสะอาด ใช้มีดสะอาด อาจล้างมีดบ่อย ถัง กะละมังที่ใช้ และบรรจุภัณฑ์ที่จะใส่ผลไม้ ต้องสะอาด จัดวางบรรจุภัณฑ์ในตู้หรือในถังแช่ความเย็นที่สะอาดปราศจากแมลงและฝุ่น
ผู้ขายที่หยิบจับเงินจากลูกค้าจะหยิบได้แค่บรรจุภัณฑ์ผลไม้
ต้องไม่หยิบจับตัวผลไม้

4. ท่านจะต้องหาตลาดที่ขายได้มาก
ท่านอาจจะจ้างเด็กช่วยขายแทนท่าน ขายบนรถเข็น ขายบนรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง ขายบนรถกระบะที่ขับตระเวนไปจอดขายหลายที่ต่อวัน หรือถ้ามีเงินทุนน้อยก็อาจจะใส่ตะกร้ายืนขาย ณ บริเวณที่ที่มีคนสัญจรมาก และแถวนั้นไม่ควรมีร้านค้าคู่แข่ง

เช่น ตอนเช้าอาจขายใกล้ป้ายรถเมล์ ขายหน้าโรงพยาบาล ขายหน้าโรงงาน ตอนเที่ยงอาจขายใกล้ร้านแม่ช้อยชวนชิม ขายในหน่วยงานราชการ ขายหน้าโรงงาน ตอนบ่ายขายหน้าอู่ซ่อมรถ ขายหน้าร้านเสริมสวย ตอนเย็นขายหน้าโรงเรียน ขายใกล้ป้ายรถเมล์ ขายใกล้ทางเข้าสวนสาธารณะหรือสนามกีฬา ตอนกลางคืนขายใกล้ร้านแม่ช้อยชวนชิม และขายหน้าสถานบันเทิง เป็นต้น

5. ท่านจะต้องมีกลยุทธ์การขาย
• ท่านอาจจะบรรจุผลไม้ 2 ประเภทขายในบรรจุภัณฑ์เดียว หากบรรจุในถุงพลาสติกและแม็กปากถุงขาย ใส่จำนวนน้อยหน่อย ขายถุงละ 10 บาท หากบรรจุในถาดโฟมและปิดคลุมด้วยแผ่นฟิล์มถนอมอาหาร(Wrap) ใส่จำนวนมากหน่อย ขายถาดละ 15 บาท

หมายเหตุ : ร้านค้าที่ขายผลไม้แบบนี้ออนไลน์ จะขายถาดโฟมละ 2 ประเภทผลไม้ ราคาขายถาดโฟมละ 20 บาท คลิกอ่านที่นี่
• นอกจากขายปลีกแล้ว ท่านอาจจะแจกใบปลิวแก่ลูกค้า บอกคุณภาพของผลไม้ ความสะอาดของผลไม้ที่ขาย มีรูปภาพบรรจุภัณฑ์ แล้วท่านอาจรอคำสั่งซื้อทางโทรศัพท์ แล้วให้เด็กนำไปส่งขายถึงที่ตามคำสั่งซื้อ หรืออาจสอบถามลูกค้าที่สั่งซื้อประจำว่า ต้องการรับผลไม้ตัดแบ่งขายทุกวันหรือไม่ เพราะจะนำไปให้คัดเลือกซื้อถึงที่ ทุกวัน ขายคล้ายๆขายยาคูล์ที่ส่งลูกค้าทุกวันนั่นแหละครับ แต่ผลไม้ของท่านจะมีชนิดและรสชาติหลากหลายให้เลือกซื้อมากกว่ายาคูล์ กลยุทธ์การขายเชิงรุกแบบนี้เพื่อเพิ่มยอดขาย เพิ่มจากการขายปลีก
• มีหลายหน่วยงานทีเดียวที่ต้องการรับซื้อผลไม้ตัดแบ่งแบบนี้ ขอให้ส่งถึงที่ เพื่อจะใช้เป็นเบรกของว่าง ขณะประชุม และขณะฝึกอบรมตอนบ่าย

หากท่านขายเป็นเบรกของว่างขณะประชุมหรือขณะฝึกอบรมได้สัก 2 หน่วยงาน โดยขายได้สักวันละจำนวน 100 แพ็ค ราคาขายแพ็คละ 15 บาท คิดเป็นเงิน 1,500 บาท ผมได้เคยบอกในตอนต้นแล้วว่า ขายผลไม้ตัดแบ่งแบบนี้ ท่านจะได้กำไรเท่าตัว ฉะนั้นท่านจะได้กำไรจากการส่งขายเพื่อเป็นเบรกของว่างขณะประชุมหรือขณะฝึกอบรมแบบนี้
ได้วันละ 750 บาท
ฉะนั้นท่านควรจะหาตลาดขายผลไม้ของท่าน จากหน่วยงานที่เขาจัดประชุมจัดฝึกอบรมในตอนบ่าย เพิ่มเติมจากการขายปลีกด้วย ยิ่งหาได้มากๆหน่วยงาน ท่านก็จะยิ่งได้กำไร
อย่าตกใจว่าท่านขายแพง ผลไม้ที่มีให้เลือก 2 ชนิด ที่สด รสชาติดี
ตัดแต่งสวย บรรจุสวยและสะอาด ราคาขายแพ็คละ 15 บาท เป็นราคาที่ขายไม่แพงเกินไปหรอกครับ เพราะศิริวัฒน์แซนด์วิช ที่เขาขายแซนด์วิชให้กับงานประชุมหรืองานฝึกอบรม เฉพาะขายแซนด์วิชอย่างเดียวก็ราคา
18-35 บาทแล้ว เขาก็ยังขายดี ไม่มีหน่วยงานไหนต่อราคา
แซนด์วิชของเขากันเลย
• ผลไม้ที่ตัดแบ่งขายแบบนี้ ราคาจะขายแน่นอนคงที่ไม่ 10 บาทก็ 15 บาทละครับ ฉะนั้นท่านคงไม่ต้องยืนขายปลีกหรือขี่มอเตอร์ไซค์พ่วงข้างขายปลีกเอง แต่ท่านอาจจ้างเด็กมาช่วยขายแทนท่านได้ ท่านควรนำเวลาไปใช้เพื่อการหาตลาดที่ควรจะขายดีกว่าเดิม นำเวลาไปใช้เพื่อการหาหน่วยงานที่ต้องการจัดเบรกของว่างบ่ายในการประชุมหรือการฝึกอบรมจะดีกว่า เพราะราคาขายผลไม้ที่คงที่ หากเด็กของท่านนำผลไม้ไปขาย 80 ถุง ราคาขายถุงละ 10 บาท เด็กก็จะต้องนำเงินมาคืนท่าน 800 บาท ซึ่งท่านจะได้กำไรจากยอดขายของเด็กคนนี้ 400 บาท ท่านจะต้องแบ่งเป็นค่าจ้างขายให้เด็กประมาณ 200 บาท ท่านก็จะได้กำไรสุทธิจากยอดขายของเด็กคนนี้ 200 บาท
สำหรับกลยุทธ์การขายในข้อนี้ ท่านจะต้องตกแต่งรถมอเตอร์ไซค์ให้สีสวยสะดุดตา ให้เด็กสวมเสื้อสะอาดสีสวยสะดุดตา มีเสียงแตรเรียกร้องความสนใจ มีถุงบรรจุภัณฑ์ที่สวยแปลกตา และฝืกอบรมให้เด็กมีบุคลิกท่าทางสุภาพ สะอาด พูดจาไพเราะ …ทั้งหมดนี้อาจจะให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด
• นอกจากผลไม้จะมีรสชาติดี แช่เย็นแล้ว ยังจะต้องสดใหม่ด้วย ฉะนั้นเด็กที่ช่วยนำผลไม้ไปขาย จึงไม่ควรจะให้นำไปขายครั้งละจำนวนมาก แต่ควรจะให้นำไปขายจำนวนน้อยเพื่อขายเฉพาะของสดใหม่ เมื่อขายใกล้จะหมดก็ให้แจ้งกลับมาที่แหล่งปอกและตัดแบ่งผลไม้ เพื่อนำไปส่งเพิ่มเติมจะดีกว่า
• การปอกเปลือกและตัดแบ่งผลไม้บรรจุถุงและถาดโฟม แล้วแช่เย็นไปขายนี้ ทำกันที่บ้าน ท่านจึงอาจจะซื้อผลไม้มีตำหนิ แต่เป็นผลไม้สด
รสชาติดี ล้างสะอาดมาตัดแต่งบรรจุถุงขาย ก็ได้
ราคาซื้อผลไม้จะได้ถูกลง
• ผลไม้ต่อวันหากขายไม่หมด ไม่ควรจะนำมาขายอีกในวันรุ่งขึ้น แต่ควรจะนำไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ เป็นแยมผลไม้ เป็นผลไม้เชื่อม หรือตากแห้งอบแห้งแล้วนำมาปรุงรสเพิ่มเติม แล้วนำไปวางขายเป็นถุงร่วมกับผลไม้สด เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของลูกค้า และท่านก็จะได้ไม่เสียของ
ถ้าท่านชอบผลไม้ ก็น่าจะสนับสนุนใหัผู้อื่นกินผลไม้
เป็นผลไม้ที่ท่านคัดเลือกคุณภาพเอง สดใหม่ ล้างและตัดแบ่งบรรจุถุงสะอาด แล้วแช่เย็นให้ผู้อื่นกิน

…….นอกจากจะเป็นอาชีพแล้ว ยังเป็นความสุขใจนะครับ ที่มอบสิ่งดีดีให้ผู้อื่น………

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=yyswim&month=07-2005&date=20&group=5&gblog=11

อาชีพเติมเงินออนไลน์

อาชีพเติมเงินออนไลน์
          ในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก การดำเนินธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ต
          จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคุณ หากเพียงคุณมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตคุณก็สามารถให้บริการลูกค้าได้หลากหลายกว่ากับ
ระบบเติมเงินแบบใหม่ของ SiamTopup

          ที่ให้คุณเติมเงินเข้าบัญชีสมาชิก พร้อมเติมเงินให้กับลูกค้าของคุณสามารถเติมได้ทุกระบบ ทุกเครือข่าย และมีหลากหลายผลิตภัณฑ์
แถมกำไรที่ได้ยังสูงกว่าการซื้อบัตรเติมเงินอีกด้วย

          กับค่าสมัครแรกเข้าเพียง 300 บาท พร้อมเปิดให้บริการ ง่าย สะดวกและรวดเร็ว กว่าการวิ่งไปหาซื้อบัตร เมื่อคุณโอนเงินผ่านธนาคาร
ก็พร้อมมียอดเติมเงินให้กับคุณทันที

          รวดเร็วกว่าด้วยระบบการทำงานคอมพิวเตอร์ระดับแม่ข่าย เพียงคุณกรอกเบอร์ที่ต้องการเติม และระบุยอดเงินที่ต้องการเติม
          เพียงเท่านี้ยอดเงินก็จะเข้าบัญชีลูกค้าพร้อมมีหลักฐาน SMS ให้ทันที

ลิงค์สำหรับแนะนำ http://www.siamtopup.com/refercheck.php?r=sitcenter